วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ตัวอย่างคนดีของสังคม มูลนิธิข้าวขวัญ โรงเรียนของชาวนาไทย

เมื่อคืนได้ดูรายการ เจาะใจเป็นตอนที่นำเสนอเรื่องของ มูลนิธิข้าวขวัญ เห็นแล้วนับถืออาจารย์ เดชา ศิริภัทร
ที่ประโยคบอกว่า "เราสามารถไหว้ตัวเองได้หรือไม" นี้ละครับนับว่าเป็นบุคคลที่น่าจะจดจำและถือเป็นตัวอย่าง
บุคคลที่จะเป็นต้นแบบในการทำงานเพื่อประโยชน์ท่านและประโยชน์ตนจริงๆ หากมีโอกาสอยากให้พี่น้องชาวไทยได้ไปศึกษาดูกันครับและผมอีกคนจะหาโอกาสไปดูงานให้ได้ครับ

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พักเรื่องเครียดทั้งการบ้านและการเมือง

ทำไม่บ้านเราต้องตกอยู่ในภาวะตึงเครียดเช่นนี้หน่อ (ณ 27 พ.ย. 08 ) ปกติช่วงเดือนนี้น่าจะเป็นเดือนแห่ง
การท่องเทียวสนุกสนาน แต่บ้านเมืองเราต้องตกอยู่ในห่วงเหวแบบนี้ เราจะทำอย่างไรนี้หน่อเพื่อจะให้มันหลุดออกมาเจอกับแสงสว่าง ดังนั้นก็ขออ้อนวรให้ทุกท่านจงถอยออกมาคนละ สิบ เมตรแล้วฟังเพลงที่มันจะทำให้เย็นลงๆๆๆๆ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

มารู้จักกับการสร้างห้องเก็บเอกสาร (I-DocQment 2)

1. สร้างห้องเก็บเอกสาร (Create Document Room) จะมีหน้าต่างให้ใส่ชื่อของห้องเอกสาร
2. สร้างตู้เก็บเอกสาร (Create Document Cabinet) จะมีหน้าต่างให้ใส่ชื่อของตู้เอกสาร
3. สร้างลิ้นชักเอกสาร (Create Drawer) จะมีหน้าต่างให้ใส่ชื่อของลิ้นชัก
4. แก้ไข (Edit) ชื่อของห้อง ตู้ หรือลิ้นชักตามข้อ 1-3
5. ลบ (Delete) ลบ ชื่อของห้อง ตู้ หรือลิ้นชักตามข้อ 1-3
-การลบลิ้นชักนั้นจะลบได้ต้องไม่มีเอกสารเก็บอยู่ในนั้น
-การลบตู้เอกสารได้จะต้องไม่มีลิ้นชักเอกสารอยู่ด้านใน
-การลบห้องเก็บเอกสารจะต้องไม่มีตู้เอกสารตามลำดับ
6. แสดงรูปใหม่ (Refresh Node) เรียกให้แสดงรูปด้านช้ายของเอกสารใหม่
7. ว่างเอกสารที่ได้ทำการย้ายมาจากที่อื่น (Paste Transfer Document)

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โปรแกรมจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (I-DocQment) ตอนที่ 1

เนืองจากปัจจุบันนี้มีเอกสารเข้าออกเป็นจำนวนมาก เมือมีการจัดเก็บแล้วและจะค้นหานำกลับมาใช้อีกนั้นช่างเป็นเรื่องที่ปวดหัวไม่น้อย
สำหรับคนที่มีหน้าที่ต้องดูแลเอกสาร จำนวนมหาศาลแต่ ณ ตอนนี้เองก็ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเยอะขึ้น พร้อมกับมีการ
สร้างโปรแกรมประยุคเพิ่มขึ้นมาช่วยในการจัดเก็บเอกสารที่เป็นระบบหมวดหมุ่ ง่ายต่อการจัดเก็บและง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่อีก
ทำให้เราได้งานเพิ่มอีกเยอะ ที่ขาดไม่ได้คือเรื่องระบบความปลอดภัย เราอยากจะแนะนำโปรแกรมจัดเก็บเอกสารอีกตัวหนึ่ง I-Docqment

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Data Structure Generic Tree ด้วย Java แบบพื้น

หลังจากที่หักโหมหลายวันโดยการลองผิดลองถูกตามประสา ลูกอีสานจนกระทั้งได้ผลเป็นที่น่าจะพอใจ
ระดับหนึ่ง ผมก็นั้งคิดว่าเอ๋เราน่าจะนำเสนอบ้างนะ (คือประมาณว่าไม่มีไรจะเขียน blog) ตัวอย่างการเขียน
Code Java ให้แสดง Generic Tree โดยแสดงเส้นทางการเดินเป็นแบบ Pre-Order Node->Left->Rigth
หรือจะเป็น Post-Order Left->Rigth->Node ซึ่งเป็น Code ง่ายๆ พื้นๆ พอจะเป็น IDea ว่าแล้วก็เริ่มเลยแล้วกันครับ





เราต้องกำหนด


/** * * @author Samran Wanont */
public class TreeNode { private Object data; private TreeNode firstChild; private TreeNode nextSibling;
@Override public boolean equals(Object obj) { if (obj == null) { return false; } if (getClass() != obj.getClass()) { return false; } final TreeNode other = (TreeNode) obj; if (this.data != other.data && (this.data == null !this.data.equals(other.data))) { return false; } return true; }
@Override public int hashCode() { int hash = 5; hash = 29 * hash + (this.data != null ? this.data.hashCode() : 0); return hash; }
public TreeNode(Object data) { this.data = data; }
public Object getData() { return data; }
public void setData(Object data) { this.data = data; }
public TreeNode getFirstChild() { return firstChild; }
public void setFirstChild(TreeNode firstChild) { this.firstChild = firstChild; }
public TreeNode getNextSibling() { return nextSibling; }
public void setNextSibling(TreeNode nextSibling) { this.nextSibling = nextSibling; } @Override public String toString(){ return (String)this.data; }}



วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551

ผญา เมืองอีสาน

คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น ผ เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็น โผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็น ผญา อีกต่อหนึ่งปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่า หมายถึงอะไรผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วยผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กิน ใจความมากการพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลัง ที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่น ลึกซึ้งลงไปภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรม แห่งชาติ นั่นเอง การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือ พูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมีผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายชาย เช่น(ชาย) .... อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวถึงปลา อยากถามข่าวนา ถามข่าวถึงเข้า(ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี(หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด ผัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายมาเกี้ยว ผัดแต่สอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม ผัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มีพอสิเข้าใจเกี่ยวกับผญาแล้วนอ ถ้าอยากฮู้หลายกะไปหาศึกษาเพิ่มเติมเอาเองเด้อ เพื่อว่าเป็นการเรียนรู้และฝึกการเว้าผญา เฮากะมาเว้า มาแลกเปลี่ยนความฮู้เกี่ยวกับผญากันเด้อพี่น้องเด้อ

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551

จับ Delphi มาลุยงานแรก

ตอนนี้งานด้านข้อมูลข่าวสารถือเป็นเรื่องจำเป็นมากๆๆ
หากท่านใดหรือกลุ่มใดมีข้อมูลที่ดีกว่าย่อมได้เปรียบเพื่อน
แล้วเราจะมีวิธีการเก็บข้อมูลนั้นอย่างไรละ
เราต้องนำโปรแกรมทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยงานครับ
ผมว่าเครื่องมือที่ทรงพลังตัวหนึ่งที่ช่วยให้เราชาวนักพัฒนา
โปรแกรม (Software) ใช้งานได้ง่าย เร็ว แรง นี้ละซิผมขอแนะ
นำ Delphi เป็นอีกทางเลือกนะครับ แล้วเราจะได้ลุยงานแรกกัน